ประกันสุขภาพวัยทำงาน
ประกันสุขภาพซื้อเร็วคือกำไร อายุน้อย เบี้ยยิ่งถูก และถ้าอยากมี Wealth ต้องมี Health ที่ดีเสียก่อน ปกป้องฐานแรกให้มีความมั่นคง ก่อนจะเข้าสู่ปิรามิดทางการเงินในชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2
ประกันฉบับแรกของ First Jobber ควรเลือกซื้ออะไร?
หากคุณเป็นคนเริ่มมีรายได้ และสามารถเก็บเงินเพื่อซื้อประกันโดยมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันความเสี่ยงในอนาคตหรือวางแผนการเงินระยะยาว ต้องชื่นชมว่าคุณเป็นนักวางแผนชีวิตที่ดี เพราะหากมองภาพตัวเองในอนาคตยามเกษียณแล้วต้องการความมั่นคงทางการเงินก็ต้องเริ่มจากการอุดรูรั่วทางการเงินที่อาจสูญเสียเงินเก็บในกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน เพราะไม่มีใครรู้อนาคตของตัวเองว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ถ้าไม่เคยเจ็บป่วยต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลมาก่อน คงไม่ทราบว่าหากเจ็บป่วยขึ้นมา 6 โรคที่พบบ่อยและมีโอกาสเป็นกันได้ง่ายสำหรับคนไทยคือ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก ไรคความดันโลหิตสูง โรคแผลในกระเพาะอาหาร ไส้ติ่งอักเสบ ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเมื่อนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน เรียกได้ว่ากระเป๋าตังค์ฟีบกันเลยทีเดียว อุตส่าห์เก็บตังค์ไว้จะไปเที่ยวญี่ปุ่น เกาหลี ก็ต้องเจอโรคเลื่อนกันไป
สำหรับ First Jobber แนะนำทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพเป็นสัญญาหลักและแนบประกันสุขภาพเป็นสัญญาเพิ่มเติม เหตุผลคือ
1. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ : จ่ายเบี้ยต่ำแต่ได้รับความคุ้มครองสูง ซึ่งคุณสามารถกำหนดทุนประกันได้ตามต้องการ และทำให้เราสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายได้ตลอดอายุสัญญาของสัญญาหลัก
2. ประกันสุขภาพ : วันที่ดีที่สุดที่เราควรซื้อประกันสุขภาพ คือ วันที่เรายังแข็งแรง และไม่มีประวัติการเจ็บป่วยหรือรักษาพยาบาล ซึ่งจะทำให้เราจ่ายเบี้ยในราคาที่ไม่แพง ไม่มีการยกเว้นการคุ้มครองหรือการเพิ่มเบี้ยประกัน
โดยส่วนใหญ่ First Jobber จะเริ่มต้นเงินเดือนที่ 15,000 บาท ไปจนถึง 30,000 บาท ซึ่งแม้จะยังมีรายได้ไม่สูงมาก แต่ก็สามารถซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพได้แล้วนะคะ แนะนำให้ตั้งโควตาของค่าประกันไว้ที่ประมาณ 7% ของรายได้ต่อเดือนหรือรายได้ต่อปี ซึ่งจะไม่สูงจนเกินไป เพราะ First Jobber ก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก ในวันที่อาจจะออกมาหาที่พักเองให้สะดวกต่อการเดินทางไปทำงาน อาจไม่ได้อยู่บ้านกับพ่อแม่แล้ว ไหนจะค่าสังสรรค์ตามภาษาวัยรุ่น ค่ากาแฟ ชาไข่มุก ค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ อีก
มาดูกันว่าหากมีรายได้ไม่เท่ากันและกำลังทรัพย์ในการจ่ายเบี้ยประกันไม่เท่ากัน สามารถซื้อประกันแบบไหนได้บ้าง? ทำให้ดูเป็นไอเดียนะคะ แต่ว่าแต่ละคนอาจมีความต้องการไม่เหมือนกัน ดังนั้นการทำประกันจะต้องมีการพูดคุยถึงความต้องการของลูกค้าก่อน แล้วค่อยปรับเปลี่ยนรูปแบบประกันให้เหมาะกับ First Jobber แต่ละคนค่ะ
สำหรับ First Jobber อายุ 22 ปี ที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 – 20,000 บาท แต่ละเดือนจะจ่ายไม่เกิน 1,500 บาท แต่ก็สามารถสร้างทุนประกันหลักแสนให้กับตนเองและครอบครัวได้แล้วนะคะ ถ้าดูรายละเอียดของค่าเบี้ยประกัน จะเห็นได้ว่าเพศชายจะได้เปรียบกว่าเพราะค่าเบี้ยประกันจะต่ำกว่าเพศหญิงค่ะ สาเหตุก็เพราะว่าเพศหญิงเป็นเพศที่มีน้องมด(ลูก) และหน้าอกแถมมาด้วยตอนเกิด ทำให้มีความเสี่ยงมากกว่าเพศชายนั่นเองค่ะ
First Jobber เพศหญิง อายุ 22 ปี รายได้ 15,000 – 20,000 บาทต่อเดือน
รายได้ 15,000 บาท ต่อเดือน หากคำนวณงบสำหรับซื้อประกันที่ 7% ของรายได้ คือ เดือนละ 1,050 บาท หรือ 12,600 บาท ต่อปี (เฉลี่ยวันละ 35 บาท) ก็สามารถสร้างทุนประกันชีวิตและสุขภาพรวม 400,000 บาท ได้แล้ว
* ตัวเลขในตารางนี้เป็นการจำลองค่าเบี้ยประกันและรูปแบบของประกันที่สามารถซื้อได้ตามงบประมาณจำลอง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ทำประกัน
First Jobber เพศชาย อายุ 22 ปี รายได้ 15,000 – 20,000 บาทต่อเดือน
* ตัวเลขในตารางนี้เป็นการจำลองค่าเบี้ยประกันและรูปแบบของประกันที่สามารถซื้อได้ตามงบประมาณจำลอง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ทำประกัน
แนวคิดของแบบประกันที่นำเสนอ
กำหนดทุนประกันชีวิตไม่สูงมาก เพราะ First Jobber ยังอายุน้อย จึงอาจไม่ต้องเน้นผลประโยชน์ในส่วนนี้ และเพื่อให้มีงบเหลือไปซื้อประกันสุขภาพค่ะ แม้ว่าการซื้อประกันสุขภาพใน Option ที่ดีที่สุดจะเป็นการซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ซึ่งคุ้มครองตั้งแต่หวัด-มะเร็ง กันเลย ครอบคลุมความเสี่ยงสุดๆ แต่ว่าตอนนี้รายได้ยังไม่มากพอที่จะจ่ายไหว ดังนั้นแนะนำเป็นแบบเริ่มต้น AIA Health Saver ที่มีการเหมาจ่ายในรายการที่สำคัญนะคะ โดยเฉพาะหมวดการผ่าตัดค่ะ
แม้ว่าจะได้ค่าห้องไม่สูงมาก แต่ก็มีงบที่จะสามารถซื้อประกันชดเชยรายได้เพิ่มได้ด้วย เพื่อช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าห้อง และการสูญเสียรายได้เวลาที่เราต้องนอนโรงพยาบาลด้วยนะคะ
คุ้มครองตั้งแต่หวัด-มะเร็ง
สมัครได้ตั้งแต่อายุ 11-75 ปี
เบิ้ลผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่า คุ้มครอง 6 โรคร้ายแรง และต่อเนื่องรวมเป็น 4 ปีกรมธรรม์
มี OPD สำหรับผู้ป่วยนอก 30 ครั้ง
ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท ประกันชีวิต 100,000 บาท
ตารางเบี้ยประกันสุขภาพรายปีแนะนำตามระดับรายได้ เพศ และอายุ
AIA 20 Pay Life + AIA Health Saver (กึ่งเหมาจ่าย) หรือ AIA Health Happy (เหมาจ่าย)* จัดสรรให้ไม่เกิน 7% ของรายได้ต่อปี
ตารางเบี้ยประกันสุขภาพเฉลี่ยรายเดือนแนะนำตามระดับรายได้ เพศ และอายุ
AIA 20 Pay Life + AIA Health Saver (กึ่งเหมาจ่าย) หรือ AIA Health Happy (เหมาจ่าย)* จัดสรรให้ไม่เกิน 7% ของรายได้ต่อปี
ตารางรายละเอียดความคุ้มครองของแผนประกันสุขภาพเหมาจ่าย AIA Health Saver (แบบละเอียด)
ในส่วนผลประโยชน์ของการลดหย่อนภาษีนั้นแยกเป็น
- ประกันชีวิต : ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพ : ลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท
และถ้าดูค่าเบี้ยประกันในตารางแล้ว จะเห็นได้ว่า น้องๆ สามารถลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน 100% เลยนะคะ เพราะไม่เกินจากโควต้าที่กฏหมายกำหนดไว้ค่ะ
ประกันโรคร้ายแรง “เจอ จ่าย จบ”
ถ้าใครยังไม่พร้อมจัดเต็มด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ก็สามารถเลือกป้องกันเฉพาะโรคร้ายแรงได้นะคะ เพราะเบี้ยประกันไม่แพง และหากโชคร้ายขึ้นมาจริงๆ เราก็จะมีเงินก้อนโตไว้นำไปวางแผนใช้จ่ายว่าจะรักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือดูแลตัวเองที่บ้าน ซึ่งประกันโรคร้ายแรงจะเป็นที่คุ้นหูกันในชื่อ “เจอ จ่าย จบ” AIA CI Plus ที่ตรวจพบโรคร้ายแรงที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ก็รับเงินก้อน แล้วกรมธรรม์สิ้นสุดผลบังคับทันที หรือแบบ “เจอ จ่าย หลายจบ” AIA MULTI-PAY CI Plus ที่คุ้มครองโรคร้ายแรง ครอบคลุมทุกระดับการเจ็บป่วย การเคลมซ้ำในโรคเดิม รวมถึงการเจ็บป่วยรุนแรง และดูแลไปตลอดแม้ในยามฟื้นฟูร่างกาย
ซึ่งวิธีการรักษาโรคร้ายแรงโดยเฉพาะโรคมะเร็งในปัจจุบันก็มีทางเลือกของวิธีการรักษาได้มากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็แลกมากับค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้นด้วยนะคะ มาลองเช็คค่าใช้จ่ายสำหรับโรคมะเร็งที่คนไทยเป็นมากที่สุด 5 อันดับแรกกันค่ะ
จ่ายเบี้ยหลักพัน
รับเงินคุ้มครองรวม 3 ล้าน
วงเงิน 3 ล้าน ช่วยให้เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง
วงเงิน 3 ล้าน จัดการค่าใช้จ่ายที่ไม่จบแค่ในโรงพยาบาล ค่าอุปกรณ์การแพทย์กรณีรักษาตัวที่บ้าน ค่าจ้างผู้ดูแล ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
วงเงิน 3 ล้าน ดูแลโรคร้ายแรงที่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้
ตัวอย่างตารางเบี้ยประกันสุขภาพ เพศหญิง อายุ 21 ปี รายได้ 15,000 – 20,000 บาทต่อเดือน
รายได้ 15,000 บาท ต่อเดือน เทียบกับเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายรวม 8,263.40 บาทต่อปี คิดเป็น 4.6% ของรายได้ ซึ่งไม่สร้างผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายมากนักและยังสามารถสร้างทุนประกันชีวิตรวมประกันสุขภาพโรคร้ายแรงรวม 3,000,000 บาทได้ โดยที่เบี้ยประกันโรคร้ายแรงจะยืนราคานี้ไปอีก 5 ปี จนกว่าจะถึงอายุ 26 จึงจะปรับราคาค่ะ
ผลประโยชน์สำหรับลูกค้า :
- ทุนประกันชีวิต 200,000 บาท ได้รับเงินชดเชยเมื่อเสียชีวิตระหว่างสัญญา หรือหากอยู่ครบสัญญา รับผลประโยชน์สูงสุด ระหว่างทุนประกัน 200,000 บาท หรือ มูลค่าเวนคืนกรรมธรรม์ หรือ จำนวนเบี้ยประกันที่ชำระมาแล้วทั้งหมด
- หากมีสุขภาพดี ไม่เคยมีประวัติเจ็บป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาล หรือเป็นโรคร้ายแรงมาก่อน สามารถทำประกันได้โดย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ*
- AIA CI Top Up รับเงินก้อนทันที 200,000 บาท เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง
- AIA CI Plus รับเงินก้อนทันที 500,000 บาท เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงระดับรุนแรง
- AIA TI รับเงินก้อนทันที 180,000 บาท เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในภาวะ “เจ็บป่วยระยะสุดท้าย”
- AIA WPCI ได้รับการยกเว้นการชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตสัญญาหลัก เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงระดับรุนแรง
- AIA Health Cancer มีเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับการรักษาโรคร้ายแรงแบบผู้ป่วยใน (IPD) วันละ 11,000 บาท สูงสุด 500 วัน (คิดเป็นวงเงิน 5.5 ล้านบาท)
- AIA Care for Cancer มีเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับการรักษาโรคมะเร็งทุกระยะ ทั้งแบบผู้ป่วยใน (IPD) วันละ 20,000 บาท สูงสุด 1,000 วัน (คิดเป็นวงเงิน 20 ล้านบาท) และผู้ป่วยนอก (OPD) วันละ 5,000 บาท กรณีเข้าบำบัดรักษา โรคมะเร็ง หรือการตรวจโรคมะเร็งด้วย MRI Scan/CT Scan/PET Scan (ไม่เกิน 2 ครั้ง)
- กรณีเสียชีวิตด้วยเหตุปกติ จากอุบัติเหตุ หรือ โรคร้ายแรง รับทันที 700,000 บาท
- กรณีเสียชีวิตด้วยเหตุปกติ จากอุบัติเหตุ หรือโรคร้ายแรง หรือโรคมะเร็ง รับทันที 2,800,000 บาท
ตารางเบี้ยประกันโรคร้ายแรงรายปี ทุน 3 ล้านบาท
คุ้มครอง 62 โรคร้ายแรง โรคมะเร็งทุกระยะ ดูแลการรักษาในโรงพยาบาล
ประกัน Unit Linked ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ไม่จ่ายเบี้ยทิ้ง เบี้ยคงที่
หากคุณอายุไม่เกิน 40 ปี และต้องการมีประกันสุขภาพแบบไม่จ่ายเบี้ยทิ้ง
หยุดจ่ายเบี้ยได้เมื่อไม่มีรายได้หลังเกษียณและยังได้รับความคุ้มครองสุขภาพถึงอายุที่กำหนด*
เบี้ยประกันคงที่ ไม่ต้องกังวลเมื่ออายุมากขึ้น เทียบแล้วจ่ายเบี้ยน้อยกว่าแบบทั่วไปหลักล้านเมื่อทำประกันระยะยาว
รับโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมที่บริหารโดยมืออาชีพระดับโลก
ประกัน UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) จาก AIA คือ คำตอบที่ใช่สำหรับคุณ
UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) คืออะไร? ทำไมถึงมีคำนี้ต่อท้าย
ปกติแล้วสัญญาเพิ่มเติมของ AIA จะมีทั้งแบบ PPR ที่มีการชำระเบี้ยประกันภัยแยกต่างหากจากเบี้ยประกันภัยของสัญญาหลัก และมีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ซึ่งอาจต่ออายุได้
สัญญาเพิ่มเติมแบบ UDR ซึ่งย่อมาจาก Unit Deducting Rider คือสัญญาเพิ่มเติมแบบชำระค่าการประกันภัยโดยการขายคืนมูลค่าหน่วยลงทุน
UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) เหมาะกับใคร?
ประกันชีวิตควบการลงทุน (ยูนิต ลิงค์) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการทั้งความคุ้มครองชีวิต และเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าแบบประกันชีวิตทั่วไป ด้วยการลงทุนในกองทุนรวมซึ่งบริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) รวมทั้งสามารถยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ในขณะเดียวกัน ประกันชีวิตในลักษณะนี้จึงให้ทั้งความมั่นคงและมั่งคั่งภายในกรมธรรม์เดียว โดยผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันภัยสามารถรับได้
คุ้มครองสุขภาพแบบระยะยาว
ใช้เงินให้คุ้มค่า จ่ายแล้วงอกเงย
มีเงินเก็บเพิ่มจากการดูแลสุขภาพตัวเอง
Get Healthy Get Wealthy
*** ข้อดีของสัญญาเพิ่มเติม UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) ***
- ไม่ใช่เบี้ยจ่ายทิ้ง ค่าเบี้ยทั้งหมดหลังหักค่าธรรมเนียมจะนำไปลงทุนในกองทุนรวม สร้างโอกาสได้ผลตอบแทนให้กับเจ้าของกรรมธรรม์ (เลือกกองทุนได้ตามระดับความเสี่ยง และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)
- เบี้ยประกันภัยคงที่ตลอดสัญญา แม้จะมีเคลมมากน้อยแค่ไหนก็ไม่ปรับเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัย
- จ่ายเบี้ยรวมน้อยกว่าในระยะยาว ประหยัดได้เป็นหลักล้าน (ดูตารางเปรียบเทียบได้ด้านล่าง ระหว่างเบี้ยจ่ายทิ้งแบบ PPR และเบี้ยประกันแบบ UDR เทียบตามช่วงอายุ)
- สามารถวางแผนค่าใช้จ่ายเรื่องเบี้ยประกันภัยในระยะยาวได้เป็นอย่างดี สามารถเลือกความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลได้จนถึงอายุ 99 ปี
- วางแผนหยุดจ่ายเบี้ยได้ โดยใช้ผลตอบแทนจากการลงทุนมาจ่ายค่าเบี้ยให้แทน และยังได้รับความคุ้มครองประกันสุขภาพตามอายุที่กำหนด
- คุ้มครองทุกโรค เข้าได้ทุกโรงพยาบาลทั้งรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ
- คุ้มครองผู้จ่ายเบี้ยประกัน กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ไม่สามารถชำระเบี้ยประกันได้ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์เท่ากับเงินเอาประกันภัย โดยกรรมธรรม์จะยังมีผลบังคับต่อไป ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมธรรม์
- สร้างวินัยทางการเงินในการออมเงินแบบเดียวกับการทำ DCA ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงของเงินที่อาจสูญเสียไปในอนาคตและยังเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่า
- ต่ออายุรับประกันภัยสัญญาเพิ่มเติม UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) โดยอัตโนมัติ ตราบเท่าที่มูลค่าหน่วยลงทุนในกรมธรรม์ เพียงพอที่จะนำไปหักค่าใช้จ่าย
- กรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินเอาประกันภัยหลัก + มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (หากเป็นประกันทั่วไปจะได้รับเพียงเงินเอาประกันภัยหลักเท่านั้น)
เพิ่มความคุ้มครองเป็น 2 เท่า ต่อเนื่อง 4 ปีกรมธรรม์ กรณีพบโรคร้ายแรงตามคำนิยามดังต่อไปนี้
- กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)
- โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)
- การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-Pass Surgery)
- โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer)
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation)
- การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ตา (Surgery to Aorta)
สัญญาเพิ่มเติมแบบ PPR
PPR ย่อมาจาก Premium Payment Rider คือ สัญญาเพิ่มเติมทั่วไป ซึ่งมีการชำระเบี้ยประกันภัยแยกต่างหากจากเบี้ยประกันภัยของสัญญาหลัก โดยสัญญาเพิ่มเติมเป็นสัญญาประกันภัยที่มีระยะเวลาเอาประกันภัยปีต่อปี และเบี้ยประกันภัยจะปรับเพิ่มขึ้นตามความเสี่ยงและอายุ
*** ข้อดีของประกันสุขภาพแบบ PPR (Premium Payment Rider) ***
- การต่ออายุง่าย: สามารถต่ออายุกรมธรรม์ทุกปีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสุขภาพใหม่ ทำให้สะดวกในการรักษาความคุ้มครองโดยไม่ต้องผ่านเงื่อนไขซับซ้อน
- ไม่ต้องปรับเปลี่ยนบ่อย: เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความมั่นคงและไม่ต้องการปรับเปลี่ยนกรมธรรม์หรือเงื่อนไขทุกปี
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการความมั่นคงทางการเงิน สามารถยอมรับได้ว่าค่าเบี้ยประกันจะเพิ่มขึ้นตามอายุ แต่ก็สามารถวางแผนได้ในแต่ละปีว่าต้องใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
- เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพต่ำ: สำหรับคนที่สุขภาพยังแข็งแรง แต่ต้องการสร้างความมั่นใจว่ามีการคุ้มครองสุขภาพระยะยาวในกรณีที่เจ็บป่วยหรือมีเหตุฉุกเฉินในอนาคต
โดยสรุปแล้ว UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) อาจเหมาะสำหรับคนที่ต้องการแบบประกันที่มีความยืดหยุ่นทั้งในเรื่องทุนประกันชีวิตและเบี้ยประกัน มีความโปร่งใสในเรื่องค่าใช้จ่าย มีความเข้าใจในการลงทุนในกองทุนรวมพอสมควร และต้องการได้รับผลตอบแทนคาดหวังที่สูงกว่าประกันชีวิตแบบดั้งเดิม ในขณะที่ PPR เหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสุขภาพที่ต่อเนื่อง มั่นคง และไม่ต้องการปรับเปลี่ยนรายละเอียดบ่อยๆ
ต้องการความยืดหยุ่น
ต้องการรับผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันแบบดั้งเดิม
เปรียบเทียบการจ่ายเบี้ยระยะยาวสำหรับเพศชาย อายุ 35 ปี
กรณีที่ 1 ประกันชีวิต AIA 20 Pay Life + AIA Health Happy (PPR) แผน 5 ล้าน
กรณีที่ 2 ประกันชิวิต AIA Issara Plus + AIA Health Happy@99 (UDR) แผน 5 ล้าน
จะเห็นได้ว่า หากจ่ายเบี้ยประกันชีวิตที่จำนวนเท่ากัน 12,000 บาท แต่มีค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่ต่างกันตามช่วงอายุ เมื่อคำนวณการจ่ายเบี้ยระยะยาวตั้งแต่อายุ 35-85 ปี จะใช้จำนวนเงินที่ต่างกันถึง 1,912,746 บาท
และเปรียบเทียบเมื่อตอนอายุ 61 ที่เกษียณจากการทำงาน และไม่มีรายได้แล้ว หากต้องการทำประกันสุขภาพ แม้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตที่เป็นสัญญาหลักแล้ว แต่ก็มีค่าเบี้ยที่สูงขึ้นสวนทางกับรายได้ที่ลดลง
ในกรณีของ UDR หรือ Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) คุณจะสามารถหยุดจ่ายเบี้ยเมื่อเกษียณอายุ และยังได้รับความคุ้มครองประกันสุขภาพไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือเลือกปรับเปลี่ยนการจ่ายเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อรับความคุ้มครองประกันสุขภาพไปจนถึงอายุ 99 ปี
เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ด้านล่างคือการคำนวณเบี้ยประกันของผู้เอาประกันเพศชาย อายุ 35 ปี เลือกความคุ้มครองหลัก 1,000,000 บาท จ่ายเบี้ยฯ 12,000 บาท และแนบสัญญาประกันสุขภาพ AIA Health Happy-UDR (@99) แผน 5 ล้าน เบี้ยฯ 67,479 บาท รวมเป็นเบี้ยฯ ต่อปี 79,479 บาท
เมื่อเกษียณอายุ ผู้เอาประกันขอหยุดการชำระเบี้ยตั้งแต่อายุ 61 ปี เป็นต้นไป โดยยังได้รับความคุ้มครองประกันสุขภาพ AIA Health Happy-UDR แผน 5 ล้านบาทไปจนถึงอายุ 85 ปี แต่หากเสียชีวิตก่อนวันสิ้นสุดสัญญา ผู้เอาประกันจะได้รับผลประโยชน์จากเงิน 2 ก้อน คือ เงินทุนประกัน 1,000,000 บาท และมูลค่ารับซื้อคืนกองทุนรวม 2,149,968.56 บาท รวมเป็นเงิน 3,149,968.56 บาท* เมื่อเทียบกับประกันแบบ PPR จะได้รับเงินทุนประกันที่ 515,021.46 บาท
นอกจากนี้ ยังมีผลประโยชน์จาก TPD (Total and Permanent Disability) หรือการคุ้มครองกรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (ไม่สามารถประกอบอาชีพหรือดูแลตัวเองได้ตลอดชีวิต) บริษัทประกันจะจ่ายเงินชดเชยตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยเป็นการจ่ายผลประโยชน์เพียงครั้งเดียวตลอดอายุกรรมธรรม์ ซึ่งกรรมธรรม์จะยังคงมีผลบังคับต่อไป ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมธรรม์
* ไม่มีการรับประกันผลตอบแทน ตัวเลขที่แสดงในตารางคำนวณผลประโยชน์เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ
และหากซื้อสัญญาเพิ่มเติม อาทิ ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล AIA HB Extra หรือมีการกำหนดทุนประกันที่สูงพอ ผู้เอาประกันจะได้รับสิทธิ Vitality และมี Vitality Cashback ให้อีกด้วย ช่วยสร้างวินัยในการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเอง และยังได้รับเงินคืนพิเศษจากการเก็บคะแนนการดูแลสุขภาพในระยะยาว
เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ด้านล่างคือการคำนวณเบี้ยประกันของผู้เอาประกันเพศชาย อายุ 35 ปี เลือกความคุ้มครองหลัก 1,000,000 บาท จ่ายเบี้ยฯ 12,000 บาท และแนบสัญญาประกันสุขภาพ AIA Health Happy-UDR (@99) แผน 5 ล้าน เบี้ยฯ 67,479 บาท รวมเป็นเบี้ยฯ ต่อปี 79,479 บาท หากชำระเบี้ยต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 60 ปี เบี้ยรวมทุกอย่างจะอยู่ที่ 2,066,454 บาท พร้อมกับสิทธิ์ Vitality Cashback (Flexing Status) เป็นเงิน 780,249.44 บาท เท่ากับว่าจ่ายเบี้ยฯ รวมไปหลังหักเงินคืนพิเศษแล้วคือ 1,286,204.56 บาท*
สร้างวินัยดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
รับเงินคืนพิเศษจาก AIA Vitality
จ่ายเบี้ยน้อยลง
ดาวน์โหลดโบรชัวร์
เกี่ยวกับตัวแทน
แม่แอ้ (มุนิสรา อังศุธรรม)
ตัวแทนประกันชีวิต AIA เลขที่ใบอนุญาต : 6701030394
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA Regular 22) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้คำปรึกษาด้านการวางแผนการเงินและประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ ประกันสะสมทรัพย์โดยมืออาชีพ
IC License : 133598
โทรสอบถามเรา : 089 812 2084