เพศชายอายุ 30 ปี เริ่มต้นเก็บเงินในรูปแบบประกันเดือนละ 3,000 บาท หรือ 36,000 บาทต่อปี เมื่อถือกรรมธรรม์ต่อเนื่องไปจนถึงเกษียณอายุ 60 ปี จะมีมูลค่าหน่วยลงทุน 2 ล้านบาท เทียบกับเบี้ยที่ชำระไปแล้ว 1 ล้านบาท ทั้งนี้แม้ไม่ต้องชำระเบี้ยต่อ แต่ได้รับทั้งความคุ้มครองชีวิตและความมั่งคั่งไปพร้อมๆ กัน ยิ่งให้เวลาเงินได้ทำงาน มูลค่ากรรมธรรม์ก็ยิ่งโตขึ้นเรื่อยๆ ทบต้นทบโบนัส
ต้องมีเงินเท่าไหร่จึงจะพอใช้หลังเกษียณ?
สำหรับคนที่มีเป้าหมายในใจแล้วว่าอยากจะได้เงินเดือนเท่าไหร่เพื่อใช้หลังเกษียณไปจนสิ้นอายุไข และยังไม่รู้จะเริ่มต้นวางแผนเก็บเงินอย่างไร แล้วต้องใช้เงินทั้งหมดเป็นจำนวนเท่าไหร่กันแน่ ขอแนะนำให้ใช้โปรแกรมของทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) มาคำนวณกันก่อนดีกว่าว่าเราต้องมีเงินเท่าไหร่เพื่อให้พอใช้หลังเกษียณ
ตัวอย่างที่ 1
เพศหญิง อายุ 35 ปี แต่งงานแล้ว บุตรสาว 1 คน อายุ 5 ขวบ มีอาชีพที่มั่นคง สามารถออมเงินได้ต่อเนื่องถึง 20 ปี มีมรดกจากคุณพ่อคุณแม่ส่งทอดไว้ให้แล้วส่วนหนึ่ง วางแผนเกษียณอายุเมื่ออายุ 55 ปี ที่ผ่านมาซื้อกองทุน RMF ไว้บ้างแล้ว แต่ก็มีทั้งกำไรและขาดทุน จึงมองหาทางเลือกอื่นที่มั่นคงกว่าเพราะต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณในต่างจังหวัด เดือนละ 25,000 บาท และมีเงินส่งมอบให้กับลูกสาวหากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับตนเอง คาดการณ์อายุขัยไว้ที่ 80 ปี โดยเมื่อคำนวณเงินออมทั้งหมดแล้ว ก็ยังขาดเงินอยู่อีกเกือบ 5 ล้านบาท
ภารกิจ
หลังเกษียณต้องการเงินใช้เดือนละ 25,000 บาท (ปีละ 300,000 บาท) เป็นเวลา 25 ปี
แต่มีเวลา 20 ปี ในการสะสมทรัพย์และลงทุนให้เงินโตทันเป็น 4.9 ล้านบาท ได้อย่างไร
วางแผนเกษียณด้วยประกันชีวิตควบการลงทุน Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) AIA Wealth Max
ลูกค้าชำระเบี้ยรายปี 150,000 บาท (เดือนละ 12,500 บาท) ตั้งแต่อายุ 35-55 ปี จึงหยุดชำระเมื่อเกษียณอายุ จะเห็นได้ว่าเมื่ออายุ 55 ปี ลูกค้าได้ชำระเบี้ยรวมกันมาแล้ว 3.15 ล้านบาท และได้รับโบนัสระหว่างทาง 261,000 บาท คิดเป็น 174% ของค่าเบี้ยรายปี ทั้งนี้สามารถสร้างผลตอบแทนในหน่วยลงทุนให้มีมูลค่า 4.9 ล้านบาท คิดเป็น 155% โดยสามารถทยอยถอนเงินออกมาใช้ได้ปีละ 300,000 หรือเดือนละ 25,000 บาทเป็นเวลา 25 ปี ในช่วงหลังเกษียณ
การคุ้มครองชีวิต
ในระหว่างที่กรมธรรม์ยังมีผลบังคับ หากผู้เอาประกันเสียชีวิต ยังมีความคุ้มครองชีวิตหลักล้านส่งต่อเป็นมรดกให้กับลูกสาวอีกด้วย เช่น หากเสียชีวิตตอนอายุ 55 จะได้รับเงินชดเชย 2 ส่วน คือ เงินทุนประกัน 1.5 ล้าน + เงินจากการขายคืนหน่วยลงทุนประมาณ 4.9 ล้านบาท รวมเป็น 6.4 ล้านบาท
วางแผนการเงินฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ตัวอย่างที่ 2
เพศหญิง อายุ 46 ปี โสด มีรายได้สูงและค่าใช้จ่ายสูงในแต่ละเดือน วางแผนเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี และคิดว่าจะมีอายุขัยประมาณ 80 ปี เนื่องจากทำงานในวงการเอเจนซี่โฆษณาทำให้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับงานมากกว่าการวางแผนการเงิน รู้ตัวอีกทีก็เหลือเวลาออมเงินเพียง 15 ปี เพื่อให้มีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 50,000 บาท แม้ว่าลูกค้าท่านนี้ทยอยออมเงินและลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ มาบ้างแล้วแต่ก็ยังขาดเงินออมอีก 7.4 ล้านบาท
ภารกิจ
หลังเกษียณต้องการเงินใช้เดือนละ 50,000 บาท (ปีละ 600,000 บาท) เป็นเวลา 20 ปี
มีเวลา 15 ปี ในการสะสมทรัพย์และลงทุนให้เงินโตทันเป็น 7.4 ล้านบาท ได้อย่างไร?
วางแผนเกษียณด้วยประกันชีวิตควบการลงทุน Unit Linked (ยูนิต ลิงค์) AIA Smart Select
ลูกค้าชำระเบี้ยรายปี 400,000 บาท (เดือนละ 33,333 บาท) ตั้งแต่อายุ 46-60 ปี จึงหยุดชำระเมื่อเกษียณอายุ จะเห็นได้ว่าเมื่ออายุ 60 ปี ลูกค้าได้ชำระเบี้ยรวมกันมาแล้ว 6 ล้านบาท และสามารถสร้างผลตอบแทนในหน่วยลงทุนให้มีมูลค่า 7.5 ล้านบาท คิดเป็น 125% ซึ่งมีทางเลือกให้กับลูกค้าในวัยหลังเกษียณ คือ
- ปิดกรมธรรม์เพื่อรับเงินไว้ใช้หลังเกษียณหรือนำไปต่อยอดลงทุนกับทางเลือกอื่นๆ อาทิ ตราสารหนี้ระยะสั้น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ที่ได้ผลตอบแทนที่แน่นอน และความเสี่ยงต่ำ
- หากยังสามารถมีรายได้ที่จะส่งเบี้ยประกันต่อและสามารถยอมรับความเสี่ยงในกองทุนรวมได้ อาจจะพิจารณาถือกรรมธรรม์นี้ต่อไป เพื่อให้มูลค่าหน่วยลงทุนเติบโตไปเรื่อยๆ
- ทยอยถอนเงินออกมาใช้ และคงเงินส่วนหนึ่งไว้ในกรรมธรรม์ให้ทำงานต่อยอดไปเรื่อยๆ แต่ทางเลือกนี้ อาจต้องลองเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจากการบริหารกองทุนด้วย เพราะค่า COI หรือ Cost of Insurance ก็สูงขึ้นตามอายุค่ะ
การคุ้มครองชีวิต
ในมุมมองของการคุ้มครองชีวิต เนื่องจากลูกค้าเป็นคนโสดแต่มีหลานสาวที่อยากส่งต่อทุนชีวิตและทุนการศึกษาให้สามารถใช้ชีวิตต่อได้ในอนาคต หากตนเองเสียชีวิตในวัย 60 ปี ก็มีทุนประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงมากถึง 9.5 ล้านบาท
5 ทางเลือกการลงทุนสำหรับวางแผนเกษียณ
- ฝากเงินกับธนาคาร
ปัจจุบันการฝากเงินจะได้รับดอกเบี้ย ประมาณ 0.5 – 3% (กรณีที่มากกว่า 3% อาจเป็นแพ็คคู่กับประกันชีวิต จึงเหมาะกับคนที่มีเงินก้อนใหญ่ เช่น คนที่ได้เงินบำเหน็จหรือเงินชดเชยการทำงานเป็นจำนวนที่สูง) ซึ่งการลงทุนด้วยวิธีนี้ต้องไม่ลืมว่าโดนหักภาษีจากเงินฝากด้วยนะคะ - ซื้อสลากออมสินหรือสลาก ธ.ก.ส.
ดอกเบี้ยประมาณ 1.5 – 1.75% ต่อปี คล้ายๆ กับการฝากเงินกับธนาคารแต่ได้ลุ้นโชคในการถูกรางวัล ซึ่งถ้าโชคดีก็ได้เงินก้อนโต แต่ถ้าโชคไม่ดี ก็เสมือนนำเงินไปฝากไว้ในบัญชีฝากประจำ - ซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้
ให้ผลตอบแทนที่แน่นอนและสม่ำเสมอ ตามอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาที่กำหนดไว้ (ประมาณ 3 – 5% ต่อปี) จึงเหมาะกับคนที่ไม่ค่อยชอบความเสี่ยง และอยากได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก เพื่อให้เงินออมได้มีโอกาสเติบโตบ้าง - ลงทุนในกองทุนรวม
ในปัจจุบันก็มีกองทุนรวมที่มีนโยบายหลากหลายตามระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เราคาดหวัง ข้อดีคือเราสามารถลงทุนในหุ้น, หุ้นกู้, ตราสารหนี้ ได้หลายตัวพร้อมๆ กัน ซึ่งผลการดำเนินงานก็จะขึ้นอยู่กับความเก่งของผู้จัดการกองทุน กำไรจากการขายกองทุนรวมได้รับการยกเว้นภาษีด้วย แต่กรณีที่ได้เงินปันผลก็ยังต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% - ลงทุนในหุ้น
ผู้ลงทุนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพของหุ้นแต่ละตัว ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่ออกหุ้นมาให้เราไปร่วมเป็นเจ้าของ สามารถติดตามสถานการณ์ตลาดได้พอสมควร เพราะราคาและผลตอบแทนมีทั้งแบบเสี่ยงน้อยไปจนถึงเสี่ยงสูง ซึ่งบางครั้งราคาจะขึ้นลงแบบหวือหวา น่าตกใจ แต่ถ้าเลือกหุ้นที่ติดอันดับต้นๆ แม้จะเป็นหุ้นคุณภาพดีแต่ราคาก็สูงมากแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าเราพร้อมที่จะลงทุนหรือไม่
Credit: www.setinvestnow.com
รายละเอียดประกันชีวิตควบการลงทุนเพื่อวางแผนเกษียณ
AIA Smart Select (Unit Linked)
จุดเด่นโดยย่อ
- เบี้ยเริ่มต้นเพียง 30,000 บาทต่อปี
- รับโบนัส 2% เมื่อชำระเบี้ยครบ 10-19 ปี
- รับโบนัส 5% ตั้งแต่ปีที่ 20 เป็นต้นไปทุกปี
- สามารถถอนเงินออกมาได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเมื่อชำระเบี้ยครบ 2 ปี
เหมาะกับผู้ที่มีประกันสุขภาพแล้ว เน้นความคุ้มครองชีวิตเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ อาทิ วางแผนแต่งงาน วางแผนการศึกษาให้บุตร วางแผนเกษียณ
AIA Wealth Max (Unit Linked)
จุดเด่นโดยย่อ
- เบี้ยเริ่มต้นเพียง 30,000 บาทต่อปี
- รับโบนัส 150% เมื่อชำระเบี้ยครบ 20 ปี
- รับโบนัส 2% ตั้งแต่ปีที่ 10 เป็นต้นไปทุกปี
- สามารถถอนเงินออกมาได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเมื่อชำระเบี้ยครบ 2 ปี
- มี Non Lapse Guaranteed สูงสุด 10 ปี คุ้มครองชีวิตต่อเนื่อง 10 ปี แม้มูลค่ารับซื้อหน่วยลงทุนจะมีไม่เพียงพอหักค่าธรรมเนียมกรมธรรม์รายเดือน
- ให้ความคุ้มครองชีวิตสูง เมื่อเทียบกับแผนใกล้เคียงกันอย่าง AIA Smart Select
- เหมาะกับผู้ที่มีประกันสุขภาพแล้ว และต้องการวางแผนชีวิตในขั้นถัดไป สำหรับแผนระยะกลาง-ระยะยาว เพื่อรับโบนัสก้อนโตไว้ใช้หลังเกษียณ
คุณสมบัติของผู้เอาประกันและเงื่อนไขการรับประกัน
อายุรับประกัน: | 15 วัน ถึง 60 ปี |
เป้าหมาย: | ผู้ที่ต้องการทั้งความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนเพื่ออนาคต |
ระยะเวลาคุ้มครอง: | จนถึงอายุ 99 ปี หรือจนกว่ามูลค่าเงินลงทุนเหลือศูนย์ |
จำนวนเงินเอาประกันภัย | ก่อนอายุ 65 ปี: ได้รับความคุ้มครองตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หลังอายุ 65 ปี: ได้รับความคุ้มครองเท่ากับ 5 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลักต่อปี |
เบี้ยประกันภัย | เบี้ยประกันภัยหลัก: ผู้เอาประกันสามารถกำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัยได้เอง เบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม: สามารถชำระเพิ่มได้ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองหรือเงินลงทุน |
ผลประโยชน์ที่ได้รับ | กรณีเสียชีวิต: - ก่อนอายุ 65 ปี: ได้รับเงินก้อนตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ รวมถึงมูลค่าเงินลงทุน - หลังอายุ 65 ปี: ได้รับเงินก้อนเท่ากับ 5 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลักต่อปี รวมถึงมูลค่าเงินลงทุน กรณีครบกำหนดสัญญา: ได้รับมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด |
อายุรับประกัน: | 15 วัน ถึง 60 ปี |
เป้าหมาย: | ผู้ที่ต้องการทั้งความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนเพื่ออนาคต |
ระยะเวลาคุ้มครอง: | จนถึงอายุ 99 ปี หรือจนกว่ามูลค่าเงินลงทุนเหลือศูนย์ |
จำนวนเงินเอาประกันภัย | ก่อนอายุ 65 ปี: ได้รับความคุ้มครองตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หลังอายุ 65 ปี: ได้รับความคุ้มครองเท่ากับ 5 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลักต่อปี |
เบี้ยประกันภัย | เบี้ยประกันภัยหลัก: ผู้เอาประกันสามารถกำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัยได้เอง เบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม: สามารถชำระเพิ่มได้ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองหรือเงินลงทุน |
ผลประโยชน์ที่ได้รับ | กรณีเสียชีวิต: - ก่อนอายุ 65 ปี: ได้รับเงินก้อนตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ รวมถึงมูลค่าเงินลงทุน - หลังอายุ 65 ปี: ได้รับเงินก้อนเท่ากับ 5 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลักต่อปี รวมถึงมูลค่าเงินลงทุน กรณีครบกำหนดสัญญา: ได้รับมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด |
เปรียบเทียบ ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) กับ ประกันสะสมทรัพย์ที่ใช้ในการวางแผนเกษียณ
หัวข้อเปรียบเทียบ | ประกันสะสมทรัพย์ | Unit Linked |
---|---|---|
เป้าหมายหลัก | การออมเงินพร้อมความคุ้มครองชีวิต และผลตอบแทนที่แน่นอน | การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว พร้อมความคุ้มครองชีวิต |
ความยืดหยุ่น | ต่ำ - กำหนดตายตัว เช่น ระยะเวลา ชำระเบี้ยฯ และผลตอบแทน ถูกกำหนดตายตัว | สูง - ผู้ถือกรมธรรม์มีทางเลือกปรับเบี้ยประกัน ทุนชีวิต หรือพอร์ตการลงทุนได้ |
ความเสี่ยง | ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนคงที่ | ความเสี่ยงสูงขึ้น ผลตอบแทนแปรผันตามตลาดการลงทุน |
ผลตอบแทน | แน่นอนตามที่ระบุในกรมธรรม์ (เช่น 120% ของทุนประกัน) | ขึ้นอยู่กับพอร์ตการลงทุนที่เลือกและผลประกอบการของกองทุน |
การคุ้มครองชีวิต | มีการคุ้มครองชีวิตตลอดระยะสัญญา | มีความคุ้มครองชีวิต และสามารถเลือกทุกประกันให้เหมาะกับเป้าหมายได้ |
ค่าธรรมเนียม | ต่ำหรือไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม | มีค่าธรรมเนียมอื่น เช่น ค่าบริหารกองทุน ค่าธรรมเนียมกรรมธรรม์ เป็นต้น |
ความเหมาะสมในการเกษียณ | เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลตอบแทนคงที่และไม่ต้องการเสี่ยง | เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว (อายุเริ่มต้นในการเริ่มสะสมเป็นไปครอบคลุม 40 ปี เพื่อให้มีเวลาในการผ่านช่วงลงและขึ้นของตลาดการใช้ต่ำ 15 ปี) |
สภาพคล่อง | ต่ำ - การเบิกเงินก่อนครบกำหนดอาจมีผลให้ได้รับเงินไม่เต็มจำนวน | สูง - สามารถเบิกเงินจากมูลค่ากองทุนกรมธรรม์ได้เมื่อจำเป็น |
การลดหย่อนภาษี | ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท | ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท แต่ลดหย่อนได้เฉพาะส่วนค่าใช้จ่าย |
เหมาะกับใคร | ผู้ที่เน้นการออมเงินแบบปลอดภัยและต้องการผลตอบแทนแน่นอน | ผู้ที่มีความรู้เรื่องการลงทุนและต้องการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว |
หัวข้อเปรียบเทียบ | ประกันสะสมทรัพย์ | Unit Linked |
---|---|---|
เป้าหมายหลัก | การออมเงินพร้อมความคุ้มครองชีวิต และผลตอบแทนที่แน่นอน | การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว พร้อมความคุ้มครองชีวิต |
ความยืดหยุ่น | ต่ำ - กำหนดตายตัว เช่น ระยะเวลา ชำระเบี้ยฯ และผลตอบแทน ถูกกำหนดตายตัว | สูง - ผู้ถือกรมธรรม์มีทางเลือกปรับเบี้ยประกัน ทุนชีวิต หรือพอร์ตการลงทุนได้ |
ความเสี่ยง | ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนคงที่ | ความเสี่ยงสูงขึ้น ผลตอบแทนแปรผันตามตลาดการลงทุน |
ผลตอบแทน | แน่นอนตามที่ระบุในกรมธรรม์ (เช่น 120% ของทุนประกัน) | ขึ้นอยู่กับพอร์ตการลงทุนที่เลือกและผลประกอบการของกองทุน |
การคุ้มครองชีวิต | มีการคุ้มครองชีวิตตลอดระยะสัญญา | มีความคุ้มครองชีวิต และสามารถเลือกทุกประกันให้เหมาะกับเป้าหมายได้ |
ค่าธรรมเนียม | ต่ำหรือไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม | มีค่าธรรมเนียมอื่น เช่น ค่าบริหารกองทุน ค่าธรรมเนียมกรรมธรรม์ เป็นต้น |
ความเหมาะสมในการเกษียณ | เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลตอบแทนคงที่และไม่ต้องการเสี่ยง | เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว (อายุเริ่มต้นในการเริ่มสะสมเป็นไปครอบคลุม 40 ปี เพื่อให้มีเวลาในการผ่านช่วงลงและขึ้นของตลาดการใช้ต่ำ 15 ปี) |
สภาพคล่อง | ต่ำ - การเบิกเงินก่อนครบกำหนดอาจมีผลให้ได้รับเงินไม่เต็มจำนวน | สูง - สามารถเบิกเงินจากมูลค่ากองทุนกรมธรรม์ได้เมื่อจำเป็น |
การลดหย่อนภาษี | ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท | ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท แต่ลดหย่อนได้เฉพาะส่วนค่าใช้จ่าย |
เหมาะกับใคร | ผู้ที่เน้นการออมเงินแบบปลอดภัยและต้องการผลตอบแทนแน่นอน | ผู้ที่มีความรู้เรื่องการลงทุนและต้องการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว |
ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) เหมาะกับใคร?
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนเกษียณแบบมั่นคงและยืดหยุ่น :
- อายุระหว่าง 30-45 ปี เพื่อให้มีเวลาลงทุนระยะยาวและรับผลตอบแทนที่มั่นคง
- มีรายได้ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน เพื่อจัดสรรเงินบางส่วนสำหรับการลงทุนระยะยาว
- สถานะครอบครัว: ทั้งบุคคลโสด คู่สมรส หรือมีบุตร ที่ต้องการวางแผนอนาคตให้มั่นคง ทั้งสำหรับตนเองและครอบครัว
เหมาะกับผู้ที่ต้องการสร้างความมั่งคั่งผ่านการลงทุน พร้อมกับความคุ้มครองชีวิตในกรณีที่ไม่คาดฝัน ซึ่งช่วยให้คุณมีอิสระในการวางแผนเกษียณ และสร้างผลตอบแทนที่ตอบโจทย์เป้าหมายชีวิตของคุณได้ในระยะยาว
- เริ่มต้นวางแผนวันนี้ เพื่ออนาคตที่มั่นคงและความสุขในวัยเกษียณนะคะ เริ่มเร็วยิ่งมีโอกาสออมเงินได้ยาว ยิ่งได้เปรียบค่ะ
ข้อดีและข้อเสีย
- ประกันสะสมทรัพย์:
ข้อดี: ปลอดภัย ผลตอบแทนแน่นอน
ข้อเสีย: ผลตอบแทนอาจไม่สูงเท่าการลงทุนรูปแบบอื่น - Unit Linked:
ข้อดี: มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงกว่าจากการลงทุน
ข้อเสีย: มีความเสี่ยงจากการลงทุนและค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
คำแนะนำ
- หากคุณต้องการผลตอบแทนที่มั่นคงและไม่ต้องการเสี่ยง ประกันสะสมทรัพย์ เหมาะสมกว่า
- หากคุณยอมรับความเสี่ยงได้และต้องการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว Unit Linked เป็นตัวเลือกที่เหมาะกว่า
หากคุณต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับแผนเกษียณเฉพาะเจาะจง แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมได้ค่ะ! 😊
เปรียบเทียบมูลค่าของเงินออม
ด้วยประกันสะสมทรัพย์ AIA Excellent และประกันชีวิตควบการลงทุน Unit Linked
ตัวอย่าง ผู้เอาประกันเพศชาย อายุ 35 ปี วางแผนชำระเบี้ยประกัน 20 ปี ปีละ 100,000 บาท ไปจนถึงอายุ 55 เพื่อ Early Retired ต้องการเทียบผลตอบแทนที่ได้ระหว่าง ประกันสะสมทรัพย์ AIA Excellent และประกันชีวิตควบการลงทุน Unit Linked
ประกันชีวิตควบการลงทุน Unit Linked AIA Smart Select
ชำระเบี้ย 20 ปี ปีละ 100,000 บาท รวมเบี้ยสะสม 2,000,000 เมื่อครบสัญญามีมูลค่ารับซื้อหน่วยลงทุนที่ผลตอบแทน 5% คือ 3,011,068.74 +/- ขึ้นอยู่กับพอร์ตการลงทุนที่เลือกและผลประกอบการของกองทุน
สรุป
แบบประกัน | เบี้ยสะสมรวม 20 ปี | ผลตอบแทนเมื่อครบ 20 ปี |
---|---|---|
AIA Excellent | 200,000 บาท | 2,238,314.71 แน่นอน |
AIA Smart Select (Unit Linked) | 200,000 บาท | 3,011,068.74 +/- ขึ้นอยู่กับพอร์ตการลงทุนที่เลือกและผลประกอบการของกองทุน |
แบบประกัน | เบี้ยสะสมรวม 20 ปี | ผลตอบแทนเมื่อครบ 20 ปี |
---|---|---|
AIA Excellent | 200,000 บาท | 2,238,314.71 แน่นอน |
AIA Smart Select (Unit Linked) | 200,000 บาท | 3,011,068.74 +/- ขึ้นอยู่กับพอร์ตการลงทุนที่เลือกและผลประกอบการของกองทุน |