สำนักงานตัวแทนประกันเอไอเอ หน่วยงาน เหรียญทอง 999 เอ : นางสาวมุนิสรา อังศุธรรม โทร. 089-812-2084 อีเมล : munisara8122084@gmail.com

สำนักงานตัวแทนประกันเอไอเอ หน่วยงาน เหรียญทอง 999 เอ : นางสาวมุนิสรา อังศุธรรม
โทร. 089-812-2084
อีเมล : munisara8122084@gmail.com

สำนักงานตัวแทนประกันเอไอเอ หน่วยงาน เหรียญทอง 999 เอ : นางสาวมุนิสรา อังศุธรรม
โทร. 089-812-2084 อีเมล : munisara8122084@gmail.com

ประกันสุขภาพ AIA

ประกันสุขภาพ AIA

ให้การดูแลสุขภาพของคุณเป็นเรื่องง่ายและไร้กังวล ด้วยประกันสุขภาพจาก AIA ที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลและโรคร้ายแรง ให้คุณมั่นใจได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าคุณจะเผชิญกับความเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เราพร้อมอยู่เคียงข้างคุณทุกก้าว เลือกแผนที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณ และเริ่มต้นชีวิตที่มั่นคงวันนี้กับ AIA

ประกันสุขภาพซื้อเร็วคือกำไร อายุน้อย เบี้ยยิ่งถูก และถ้าอยากมี Wealth ต้องมี Health ที่ดีเสียก่อน ปกป้องฐานแรกให้มีความมั่นคง ก่อนจะเข้าสู่ปิรามิดทางการเงินในชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2

เปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพของ AIA

* เบี้ยประกันสุขภาพรวมเบี้ยประกันชีวิตสัญญาหลัก AIA 20Pay Life (Non Par) ทุนประกันขั้นต่ำ 100,000 บาทแล้ว

เปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพของ AIA

* เบี้ยประกันสุขภาพรวมเบี้ยประกันชีวิตสัญญาหลัก AIA 20Pay Life (Non Par) ทุนประกันขั้นต่ำ 100,000 บาทแล้ว

ดาวน์โหลดโบรชัวร์ประกันสุขภาพของ AIA

ควรตั้งงบทำประกันสุขภาพเท่าไรดี?

ถ้าตอบแบบตรงไปตรงมาก็คงต้องบอกว่า ยิ่งมีความคุ้มครองเยอะ ยิ่งดีค่ะ แต่งบประมาณก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงต้องแบ่งพิจารณาสองส่วน คือ “ความคุ้มครองที่เราต้องการ” กับ “งบประมาณที่สามารถจ่ายได้” มาชั่งน้ำหนักกัน โดยมี 4 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบสวัสดิการที่มี ณ ปัจจุบัน

โดยทั่วไปแล้วเรามักจะมีสวัสดิการเรื่องการรักษาพยาบาลติดตัวอยู่บ้าง ขั้นตอนแรกเราต้องกลับมาตรวจดูที่ตัวเราก่อนว่า ณ ปัจจุบันเรามีสวัสดิการอยู่ที่ไหนและเท่าไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นประกันกลุ่ม ประกันสังคม บัตรทอง รวมถึงประกันสุขภาพเล่มที่มีอยู่ และมีผลบังคับใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน

ขั้นตอนที่ 2 สำรวจว่าเราต้องการความคุ้มครองเท่าไร

จากนั้นให้ลองคิดดูว่าถ้าหากเจอเรื่องด่วนที่เราต้องแอดมิทเข้ารักษาตัวโรงพยาบาล เราจะเข้ารักษาที่โรงพยาบาลไหนเป็นหลัก แล้วลองตรวจสอบว่าค่ารักษาพยาบาลมีอัตราประมาณเท่าไร ทั้งค่าห้องและค่ารักษาพยาบาลในโรคทั่วไปรวมถึงโรคร้ายแรง เพื่อที่จะประเมินค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ได้

ขั้นตอนที่ 3 หาส่วนต่างระหว่างข้อ 1 และข้อ 2

เมื่อเรารู้แล้วว่าเรามีสวัสดิการเท่าไร และความต้องการของเราเป็นอย่างไร เราก็จะเห็น “ส่วนต่าง” ที่เกิดขึ้น จากนั้น เราก็จะพอทราบตัวเลขคร่าว ๆ ว่าควรทำประกันสุขภาพในวงเงินเท่าไรเพื่อให้ครอบคลุมส่วนต่างตรงนี้ เช่น ในหมวดค่าห้องบางคนอาจจะมีประกันกลุ่มอยู่แล้วบางส่วน ก็มาดูต่อว่ายังขาดอีกเท่าไรจึงจะครอบคลุมค่าห้องได้ทั้งหมด เป็นต้น ซึ่งเราควรคำนวณเผื่อไว้สักเล็กน้อยสำหรับอัตราค่ารักษาที่อาจเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อในอนาคตด้วย

ขั้นตอนที่ 4 พิจารณาค่าเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม

เมื่อเราทราบวงเงินและความคุ้มครองที่ต้องการแล้ว ก็ต้องนำมาพิจารณาร่วมกับค่าเบี้ยประกันภัย เพราะแต่ละคนก็มีรายได้ รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน โดยอาจกำหนดงบประมาณในการทำประกันสุขภาพเบื้องต้นไว้ที่ประมาณ 10% ของรายได้ต่อปี เพื่อให้สามารถจ่ายได้ไหวในระยะยาว และไม่เป็นภาระที่หนักจนเกินไป ทั้งนี้อาจปรับเพิ่มหรือลดลงได้ตามวัตถุประสงค์ในการทำประกันและความจำเป็นของแต่ละคนค่ะ

ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?

  • ประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมค่าลดหย่อนกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพพ่อแม่ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท (พ่อแม่ทุกคนรวมกัน ลดหย่อนสูงสุด 15,000 บาท) หากแบ่งจ่ายเบี้ยประกันร่วมกับพี่น้อง การคำนวณคือ พี่น้องทุกคนสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้ โดยจะต้องหารเฉลี่ยค่าเบี้ยประกันเท่าๆกัน เช่น พี่น้อง 2 คน จ่ายเบี้ยประกันไป 15,000 บาท จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้คนละ 7,500 บาท ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าพ่อแม่ของตนเองต้องมีรายได้รวมกันไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และตนเป็นลูกตามกฎหมายของพ่อแม่ (ต้องไม่เป็นลูกบุญธรรม)
  • ประกันสุขภาพพ่อแม่คู่สมรส เฉพาะกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ และพ่อแม่ของผู้สมรสมีรายได้รวมกันไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท (พ่อแม่ทุกคนรวมกัน ลดหย่อนสูงสุด 15,000 บาท)

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการซื้อประกันสุขภาพ

  1. ประกันสุขภาพไม่สามารถซื้อเดี่ยวได้ เนื่องจากประกันสุขภาพถือเป็นสัญญาเพิ่มเติม จึงต้องทำแนบกับประกันชีวิตที่เป็นสัญญาหลักด้วย ยกเว้นประกัน AIA CI ProCare ที่เป็นสัญญาหลักคุ้มครองโรคร้ายแรง ชำระเบี้ยแบบคงที่ 20 ปี
  2. ลูกค้าจะยังไม่สามารถเรียกร้องสินไหมได้ หากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลารอคอย (Waiting Period) โดยสำหรับการเจ็บป่วยทั่วไปจะมีระยะเวลารอคอย 30 วัน โดยเริ่มนับวันที่ในสัญญาเป็นวันที่ 1 และจะเริ่มคุ้มครองในวันที่ 31 สำหรับโรคเรื้อรังบางโรคอาจจะมีระยะเวลารอคอยถึง 60-180 วัน
  3. ประกันสุขภาพไม่ได้คุ้มครองทุกโรค ซึ่งโรคที่ยกเว้น ได้แก่
    • โรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน
    • โรคที่ต้องการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาทิ เบาหวาน (ระดับน้ำตาล มากกว่า 150 หรือ เป็นเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลีน) , ความดันโลหิต (ความดันบนเกิน 170 หรือ ความดันล่างเกิน 100) , ภูมิแพ้ตัวเอง, โรคเก๊าท์, โรคไขมัน (ไตรกลีเซอร์ไรด์ มากกว่า 300) เป็นต้น
    • การตรวจสุขภาพ
    • การรักษาที่เกี่ยวกับการเสริมสวยหรือความสวยความงาม
    • การร้องขอเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์
    • การรักษาที่เกี่ยวกับความเครียดหรือทางจิตเวช
    • การรักษาภาวะเกี่ยวกับการนอนหลับ เป็นต้น
  4. ลูกค้าสามารถใช้สิทธิ์ Cashless Claim โดยไม่ต้องสำรองจ่ายได้ ก็ต่อเมื่อครบกำหนดระยะเวลารอคอยแล้ว แต่หากลูกค้าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรือ เรื้อรัง ในช่วงที่กรมธรรม์อายุยังไม่ถึง 2 ปี อาจจะยังต้องสำรองจ่ายเนื่องจากบริษัทจำเป็นต้องใช้เวลาในการรวบรวมเอกสารและตรวจสอบว่าโรคที่เป็นเป็นมาก่อนทำประกันหรือไม่ หากไม่มีประวัติเป็นมาก่อนทำประกันก็สามารถเคลมได้ปกติ
  5. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เคยป่วยหรือเคยผ่าตัดแล้ว สามารถสมัครทำประกันสุขภาพได้ เพียงแต่อาจจะมีเงื่อนไขข้อยกเว้นพิเศษ หรืออาจต้องมีการปรับเพิ่มเบี้ยมากกว่าลูกค้าที่สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดีทั่วไป เนื่องจากลูกค้ามีระดับความเสี่ยงที่สูงกว่า

วางแผนการเงินฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย