ประกันชีวิต AIA แบบไหนดี?
นอกจากผลประโยชน์ด้านการให้ความคุ้มครองชีวิต การสร้างหลักประกันให้กับครอบครัวแล้ว ยังเป็น การสร้างวินัยทางการเงินอีกด้วย โดยประกันชีวิตที่มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปยังให้ผลประโยชน์ด้านการลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึงปีละ 100,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร
ประกันชีวิต AIA แต่ละแบบมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง?
สรุปรายละเอียดแบบย่อๆ เกี่ยวกับประกันชีวิต AIA แต่ละแบบได้ดังนี้
1. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term)
เป็นประกันที่เน้นในเรื่องของความคุ้มครองชีวิตเป็นหลัก ไม่มีเงินสะสม สามารถเลือกระยะเวลาความคุ้มครอง และระยะเวลาการชำระเบี้ยได้ตามความเหมาะสมกับภาระทางการเงิน คนที่เราต้องดูแล หรือภาระนี้สินที่เรามีอยู่ได้ โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นต่ำที่ 350,000 บาท ข้อดีคือ สามารถเรียกความคุ้มครองที่สูงได้โดยใช้ค่าเบี้ยที่ถูก แต่ก็แลกมาด้วยข้อเสียคือการไม่มีเงินสะสมและเมื่อครบกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ความคุ้มครองก็จะหมดลงไป
2. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life)
ประกันที่เน้นความคุ้มครองชีวิตระยะยาว เช่น 90 ถึง 99 ปี โดยสามารถชำระเบี้ยแค่ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 10-20 ได้ ซึ่งประกันในรูปแบบนี้จะเริ่มมีเงินสะสมหรือมูลค่ากรมธรรม์ แต่ก็ยังสามารถให้ความคุ้มครองที่สูงโดยที่ใช้เบี้ยต่ำ
จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่มีคนอยู่ในความดูแลนำมาวางแผนเป็นเครื่องมือคุ้มครองรายได้ในอนาคตของหัวหน้าครอบครัว หรือวางแผนในเรื่องการส่งต่อมรดก หรือส่งต่อความมั่งคั่งให้กับคนในครอบครัวหรือคนที่เรารักได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งประกันรูปแบบนี้ยังมีมูลค่าสะสมหรือมูลค่ากรมธรรม์จึงเป็นเงินสำรองอีกก้อนสำหรับใช้จ่ายในอนาคตได้
3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment/Saving)
4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity)
5. ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน (Unit Linked)
6. แบบประกันชีวิตผู้สูงอายุ
ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?
- ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ/ ประกันชีวิตแบบกำหนดระยะเวลา/ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท ทั้งนี้ต้องเป็นประกันชีวิตที่มีระยะความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน ค่าเบี้ยประกันจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- ค่าการประกันภัย
- ค่าใช้จ่ายหลักอื่น ๆ ของกรมธรรม์
- ส่วนของการลงทุน โดยค่าเบี้ยประกันในส่วนที่ 1 และ 2 เมื่อนำมารวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไป สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ส่วนที่นำไปลงทุนไม่สามารถนำมารวมเพื่อลดหย่อนภาษีได้
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่หักจากบริษัทของตนเองไปแล้ว กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF และกองทุนรวมเพื่อการออม SSF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท หากไม่ได้ใช้สิทธิ์ในประกันชีวิตแบบทั่วไป สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท โดยแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปใช้สิทธิ์ในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 บาท
"สัญญาหลัก" - "สัญญาเพิ่มเติม"
ในกรณีต้องการซื้อประกันสุขภาพหรือประกันอื่นๆเพิ่มเติม สามารถทำได้โดยต้องทำความรู้จักกับ “สัญญาหลัก” และ “สัญญาเพิ่มเติม” กันก่อน
“สัญญาหลัก” คือ แบบประกันภัยที่คุ้มครองชีวิต สามารถแบ่งได้ดังนี้
- ประกันชีวิตทั่วไป (แบบชั่วระยะเวลา และแบบตลอดชีพ)
- ประกันชีวิตเพื่อการออมทรัพย์
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ
- ประกันชีวิตเพื่อการลงทุน
“สัญญาเพิ่มเติม” คือ สัญญาที่เพิ่มเติมเข้าไปในสัญญาหลัก หมายความว่าการที่จะซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ ต้องมีสัญญาหลักก่อน ซึ่งสัญญาเพิ่มเติมที่คนนิยมซื้อแนบกับสัญญาหลัก คือ
- ค่ารักษาพยาบาล
- โรคร้ายแรง
- ชดเชยรายได้
ถ้าเปรียบ “ประกันชีวิต” เป็น “รถไฟ” 🚂 สัญญาหลัก คือ หัวรถจักร ที่มีความคุ้มครองอยู่แล้ว สามารถวิ่งไปได้ด้วยตัวเอง ส่วนสัญญาเพิ่มเติม คือ ตู้โดยสาร ที่นำมาต่อพ่วงกับหัวรถจักร ซึ่งสามารถต่อพ่วงได้หลายตู้ และต่อพ่วงได้เรื่อย ๆ ตามความต้องการของแต่ละคน