ประกันฉบับแรกของ First Jobber ควรเลือกซื้ออะไร?
หากคุณเป็นคนเริ่มมีรายได้ และสามารถเก็บเงินเพื่อซื้อประกันโดยมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันความเสี่ยงในอนาคตหรือวางแผนการเงินระยะยาว ต้องชื่นชมว่าคุณเป็นนักวางแผนชีวิตที่ดี เพราะหากมองภาพตัวเองในอนาคตยามเกษียณแล้วต้องการความมั่นคงทางการเงินก็ต้องเริ่มจากการอุดรูรั่วทางการเงินที่อาจสูญเสียเงินเก็บในกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน เพราะไม่มีใครรู้อนาคตของตัวเองว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ถ้าไม่เคยเจ็บป่วยต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลมาก่อน คงไม่ทราบว่าหากเจ็บป่วยขึ้นมา 6 โรคที่พบบ่อยและมีโอกาสเป็นกันได้ง่ายสำหรับคนไทยคือ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก ไรคความดันโลหิตสูง โรคแผลในกระเพาะอาหาร ไส้ติ่งอักเสบ ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเมื่อนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน เรียกได้ว่ากระเป๋าตังค์ฟีบกันเลยทีเดียว อุตส่าห์เก็บตังค์ไว้จะไปเที่ยวญี่ปุ่น เกาหลี ก็ต้องเจอโรคเลื่อนกันไป
สำหรับ First Jobber แนะนำทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพเป็นสัญญาหลักและแนบประกันสุขภาพเป็นสัญญาเพิ่มเติม เหตุผลคือ
1. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ : จ่ายเบี้ยต่ำแต่ได้รับความคุ้มครองสูง ซึ่งคุณสามารถกำหนดทุนประกันได้ตามต้องการ และทำให้เราสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายได้ตลอดอายุสัญญาของสัญญาหลัก
2. ประกันสุขภาพ : วันที่ดีที่สุดที่เราควรซื้อประกันสุขภาพ คือ วันที่เรายังแข็งแรง และไม่มีประวัติการเจ็บป่วยหรือรักษาพยาบาล ซึ่งจะทำให้เราจ่ายเบี้ยในราคาที่ไม่แพง ไม่มีการยกเว้นการคุ้มครองหรือการเพิ่มเบี้ยประกัน
โดยส่วนใหญ่ First Jobber จะเริ่มต้นเงินเดือนที่ 15,000 บาท ไปจนถึง 30,000 บาท ซึ่งแม้จะยังมีรายได้ไม่สูงมาก แต่ก็สามารถซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพได้แล้วนะคะ แนะนำให้ตั้งโควตาของค่าประกันไว้ที่ประมาณ 7% ของรายได้ต่อเดือนหรือรายได้ต่อปี ซึ่งจะไม่สูงจนเกินไป เพราะ First Jobber ก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก ในวันที่อาจจะออกมาหาที่พักเองให้สะดวกต่อการเดินทางไปทำงาน อาจไม่ได้อยู่บ้านกับพ่อแม่แล้ว ไหนจะค่าสังสรรค์ตามภาษาวัยรุ่น ค่ากาแฟ ชาไข่มุก ค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ อีก
มาดูกันว่าหากมีรายได้ไม่เท่ากันและกำลังทรัพย์ในการจ่ายเบี้ยประกันไม่เท่ากัน สามารถซื้อประกันแบบไหนได้บ้าง? ทำให้ดูเป็นไอเดียนะคะ แต่ว่าแต่ละคนอาจมีความต้องการไม่เหมือนกัน ดังนั้นการทำประกันจะต้องมีการพูดคุยถึงความต้องการของลูกค้าก่อน แล้วค่อยปรับเปลี่ยนรูปแบบประกันให้เหมาะกับ First Jobber แต่ละคนค่ะ
สำหรับ First Jobber อายุ 22 ปี ที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 – 20,000 บาท แต่ละเดือนจะจ่ายไม่เกิน 1,500 บาท แต่ก็สามารถสร้างทุนประกันหลักแสนให้กับตนเองและครอบครัวได้แล้วนะคะ ถ้าดูรายละเอียดของค่าเบี้ยประกัน จะเห็นได้ว่าเพศชายจะได้เปรียบกว่าเพราะค่าเบี้ยประกันจะต่ำกว่าเพศหญิงค่ะ สาเหตุก็เพราะว่าเพศหญิงเป็นเพศที่มีน้องมด(ลูก) และหน้าอกแถมมาด้วยตอนเกิด ทำให้มีความเสี่ยงมากกว่าเพศชายนั่นเองค่ะ
First Jobber เพศหญิง อายุ 22 ปี รายได้ 15,000 – 20,000 บาทต่อเดือน
รายได้ 15,000 บาท ต่อเดือน หากคำนวณงบสำหรับซื้อประกันที่ 7% ของรายได้ คือ เดือนละ 1,050 บาท หรือ 12,600 บาท ต่อปี (เฉลี่ยวันละ 35 บาท) ก็สามารถสร้างทุนประกันชีวิตและสุขภาพรวม 400,000 บาท ได้แล้ว
* ตัวเลขในตารางนี้เป็นการจำลองค่าเบี้ยประกันและรูปแบบของประกันที่สามารถซื้อได้ตามงบประมาณจำลอง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ทำประกัน
First Jobber เพศชาย อายุ 22 ปี รายได้ 15,000 – 20,000 บาทต่อเดือน
* ตัวเลขในตารางนี้เป็นการจำลองค่าเบี้ยประกันและรูปแบบของประกันที่สามารถซื้อได้ตามงบประมาณจำลอง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ทำประกัน
แนวคิดของแบบประกันที่นำเสนอ
กำหนดทุนประกันชีวิตไม่สูงมาก เพราะ First Jobber ยังอายุน้อย จึงอาจไม่ต้องเน้นผลประโยชน์ในส่วนนี้ และเพื่อให้มีงบเหลือไปซื้อประกันสุขภาพค่ะ แม้ว่าการซื้อประกันสุขภาพใน Option ที่ดีที่สุดจะเป็นการซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ซึ่งคุ้มครองตั้งแต่หวัด-มะเร็ง กันเลย ครอบคลุมความเสี่ยงสุดๆ แต่ว่าตอนนี้รายได้ยังไม่มากพอที่จะจ่ายไหว ดังนั้นแนะนำเป็นแบบเริ่มต้น AIA Health Saver ที่มีการเหมาจ่ายในรายการที่สำคัญนะคะ โดยเฉพาะหมวดการผ่าตัดค่ะ
แม้ว่าจะได้ค่าห้องไม่สูงมาก แต่ก็มีงบที่จะสามารถซื้อประกันชดเชยรายได้เพิ่มได้ด้วย เพื่อช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าห้อง และการสูญเสียรายได้เวลาที่เราต้องนอนโรงพยาบาลด้วยนะคะ
คุ้มครองตั้งแต่หวัด-มะเร็ง
สมัครได้ตั้งแต่อายุ 11-75 ปี
เบิ้ลผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่า คุ้มครอง 6 โรคร้ายแรง และต่อเนื่องรวมเป็น 4 ปีกรมธรรม์
มี OPD สำหรับผู้ป่วยนอก 30 ครั้ง
ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท ประกันชีวิต 100,000 บาท
ตารางเบี้ยประกันสุขภาพรายปีแนะนำตามระดับรายได้ เพศ และอายุ
AIA 20 Pay Life + AIA Health Saver (กึ่งเหมาจ่าย) หรือ AIA Health Happy (เหมาจ่าย)* จัดสรรให้ไม่เกิน 7% ของรายได้ต่อปี
ตารางเบี้ยประกันสุขภาพเฉลี่ยรายเดือนแนะนำตามระดับรายได้ เพศ และอายุ
AIA 20 Pay Life + AIA Health Saver (กึ่งเหมาจ่าย) หรือ AIA Health Happy (เหมาจ่าย)* จัดสรรให้ไม่เกิน 7% ของรายได้ต่อปี
ตารางรายละเอียดความคุ้มครองของแผนประกันสุขภาพเหมาจ่าย AIA Health Saver (แบบละเอียด)
ในส่วนผลประโยชน์ของการลดหย่อนภาษีนั้นแยกเป็น
- ประกันชีวิต : ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพ : ลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท
และถ้าดูค่าเบี้ยประกันในตารางแล้ว จะเห็นได้ว่า น้องๆ สามารถลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน 100% เลยนะคะ เพราะไม่เกินจากโควต้าที่กฏหมายกำหนดไว้ค่ะ
ดาวน์โหลดโบรชัวร์
เกี่ยวกับตัวแทน
แม่แอ้ (มุนิสรา อังศุธรรม)
ตัวแทนประกันชีวิต AIA เลขที่ใบอนุญาต : 6701030394
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA Regular 22) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้คำปรึกษาด้านการวางแผนการเงินและประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ ประกันสะสมทรัพย์โดยมืออาชีพ
IC License : 133598
โทรสอบถามเรา : 089 812 2084