สำนักงานตัวแทนประกันเอไอเอ หน่วยงาน เหรียญทอง 999 เอ : นางสาวมุนิสรา อังศุธรรม โทร. 089-812-2084 อีเมล : munisara8122084@gmail.com

สำนักงานตัวแทนประกันเอไอเอ หน่วยงาน เหรียญทอง 999 เอ : นางสาวมุนิสรา อังศุธรรม
โทร. 089-812-2084
อีเมล : munisara8122084@gmail.com

สำนักงานตัวแทนประกันเอไอเอ หน่วยงาน เหรียญทอง 999 เอ : นางสาวมุนิสรา อังศุธรรม
โทร. 089-812-2084 อีเมล : munisara8122084@gmail.com

ความรู้เกี่ยวกับประกัน

“OPD” และ “IPD” คืออะไร ?

OPD (Out Patient Department) คือ “ผู้ป่วยนอก” หมายถึงผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแต่ไม่ได้นอนพักรักษาในโรงพยาบาล (แอดมิท-Admit) เมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ จ่ายยาเสร็จก็สามารถกลับบ้านได้ในวันที่เข้ามารับการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่ไม่ได้มีปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น ปวดท้อง ปวดหัว เป็นหวัด ผดผื่นคัน หรือ อุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง

ประกัน OPD หรือประกันสุขภาพ OPD คือ ประกันที่คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยนอกที่ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล ซึ่งค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยนอกจะอยู่ในรูปแบบค่าปรึกษาแพทย์ ค่ารักษาพยาบาล ฉีดยา ทำแผล ค่ายารักษาโรค เป็นต้น

ทั้งนี้ AIA มีสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพที่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย OPD ได้แก่ AIA H&S Extra (New Standard), AIA Health Saver และ AIA Health Happy

IPD (In Patient Department) คือ “ผู้ป่วยใน” หมายถึงผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาล ‘ไม่น้อยกว่า’ 6 ชั่วโมง และเมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว แพทย์ลงความเห็นว่าจะต้องนอนพักรักษาตัว (แอดมิท-Admit) ไม่สามารถกลับบ้านได้ทันที ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่มีอาการรุนแรง ต้องมีพยาบาลหรือแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด และดูแลมากกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป เช่น โควิด-19 ปอดอักสเบ อาหารเป็นพิษ ท้องเสียขั้นรุนแรง

ประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะคุ้มครองผู้ป่วยในเป็นหลัก เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง ครอบคลุม ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ายา ค่าผ่าตัด ค่าวินิจฉัยโรค ค่าผู้ประกอบวิชาชีพ และอื่นๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 20,000 ต่อวัน ในโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป

ประกันสุขภาพสำหรับ IPD มี 2 ประเภท

  1. แบบเหมาจ่าย (เหมาะกับคนที่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ และไม่ต้องการปวดหัวกับรายจ่ายยิบย่อย เจ็บแต่จบ!)
  2. แบบจำกัดวงเงิน (ค่าเบี้ยถูกกว่า แต่อาจจะต้องจ่ายส่วนต่างเอง) ทั้งนี้ AIA มีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงโรคร้ายแรง โรคมะเร็ง ทั้งแบบงบจำกัด และแบบครอบคลุมการเป็นซ้ำได้หลายครั้งอีกด้วย

ประกันลดหย่อนภาษีมีแบบไหนบ้าง และลดหย่อนได้เท่าไหร่?

ประกันสะสมทรัพย์กับประกันบำนาญต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน?

เลือกประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย หรือ ประกันโรคร้ายแรง? แบบไหนดีกว่ากัน?

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย

เป็นประกันแบบที่มี “วงเงินค่ารักษา” ต่อปีให้แบบเหมาจ่าย ค่ารักษาเท่าไร ก็เบิกกับบริษัทประกันได้ตามวงเงินคุ้มครอง โดยจะมีข้อจำกัดเพียงบางรายการ เช่น ค่าห้องต่อวัน ค่าแพทย์ตรวจต่อวัน และค่ายากลับบ้าน (ทุกแบบมีข้อจำกัดแบบนี้ทั้งหมดค่ะ ไม่ว่าจะบริษัทไหน) ทั้งนี้รายละเอียดก็อาจจะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของแต่ละกรมธรรม์ ดังนั้น ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจึงช่วยให้เราสามารถเข้าถึงการรักษาที่ดี พร้อมแบ่งเบาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลได้

ประกันโรคร้ายแรง

หากถูกวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคร้ายแรง จะได้รับเป็น “เงินก้อน” ทันที ประกันโรคร้ายแรงจะช่วยให้เราสามารถนำเงินจำนวนนี้ไปใช้ในค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพยาบาลหรือคนดูแลที่บ้าน ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการฟื้นฟูร่างกายเมื่อกลับมาพักฟื้นต่อที่บ้าน ค่าเดินทางไปหาหมอ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันที่อาจได้รับผลกระทบจากการที่เราต้องพักรักษาตัวและขาดรายได้ เงินก้อนนี้จึงเข้ามาช่วยทำให้สามารถหมุนเวียนกระแสเงินสดให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น ประกันโรคร้ายแรงจึงเข้ามาช่วยในการลดความเสี่ยงสภาพคล่องเมื่อเราเกิดวิกฤติได้ โดยไม่ต้องหันไปพึ่งพาใครแม้จะไม่มีเงินก้อนเก็บเอาไว้ก็ตาม

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายและประกันโรคร้ายแรงต่างก็มีข้อดีและตอบจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการเลือกจึงต้องพิจารณาความเสี่ยงการเจ็บป่วยของเราและความต้องการของเราว่าต้องการความคุ้มครองแบบใดบ้าง ประกันกลุ่มหรือสวัสดิการจากบริษัทที่เรามีอยู่เดิมครอบคลุมมากน้อยแค่ไหน และตัวเรามีความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยมากน้อยเพียงใดเพื่อพิจารณาว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายหรือประกันโรคร้ายแรงที่จำเป็นสำหรับเรามากกว่ากัน

แต่ดีที่สุดก็คือ การซื้อ ”ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย” คู่กับ “ประกันโรคร้ายแรง” ค่ะ เพราะสามารถตอบโจทย์คนที่มีภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากและคนที่ไม่มีเงินก้อนได้เป็นอย่างดี ช่วยแบกรับภาระค่าใช้จ่ายได้ ไม่ว่าจะเจ็บป่วยกรณีใดก็ตาม เรียกได้ว่าเป็นตัวจบที่ให้เราหมดห่วงเรื่องสุขภาพไปได้เรื่องหนึ่ง

ควรตั้งงบทำประกันสุขภาพเท่าไรดี?

ถ้าตอบแบบตรงไปตรงมาก็คงต้องบอกว่า ยิ่งมีความคุ้มครองเยอะ ยิ่งดีค่ะ แต่งบประมาณก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงต้องแบ่งพิจารณาสองส่วน คือ “ความคุ้มครองที่เราต้องการ” กับ “งบประมาณที่สามารถจ่ายได้” มาชั่งน้ำหนักกัน โดยมี 4 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบสวัสดิการที่มี ณ ปัจจุบัน

โดยทั่วไปแล้วเรามักจะมีสวัสดิการเรื่องการรักษาพยาบาลติดตัวอยู่บ้าง ขั้นตอนแรกเราต้องกลับมาตรวจดูที่ตัวเราก่อนว่า ณ ปัจจุบันเรามีสวัสดิการอยู่ที่ไหนและเท่าไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นประกันกลุ่ม ประกันสังคม บัตรทอง รวมถึงประกันสุขภาพเล่มที่มีอยู่ และมีผลบังคับใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน

ขั้นตอนที่ 2 สำรวจว่าเราต้องการความคุ้มครองเท่าไร

จากนั้นให้ลองคิดดูว่าถ้าหากเจอเรื่องด่วนที่เราต้องแอดมิทเข้ารักษาตัวโรงพยาบาล เราจะเข้ารักษาที่โรงพยาบาลไหนเป็นหลัก แล้วลองตรวจสอบว่าค่ารักษาพยาบาลมีอัตราประมาณเท่าไร ทั้งค่าห้องและค่ารักษาพยาบาลในโรคทั่วไปรวมถึงโรคร้ายแรง เพื่อที่จะประเมินค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ได้

ขั้นตอนที่ 3 หาส่วนต่างระหว่างข้อ 1 และข้อ 2

เมื่อเรารู้แล้วว่าเรามีสวัสดิการเท่าไร และความต้องการของเราเป็นอย่างไร เราก็จะเห็น “ส่วนต่าง” ที่เกิดขึ้น จากนั้น เราก็จะพอทราบตัวเลขคร่าว ๆ ว่าควรทำประกันสุขภาพในวงเงินเท่าไรเพื่อให้ครอบคลุมส่วนต่างตรงนี้ เช่น ในหมวดค่าห้องบางคนอาจจะมีประกันกลุ่มอยู่แล้วบางส่วน ก็มาดูต่อว่ายังขาดอีกเท่าไรจึงจะครอบคลุมค่าห้องได้ทั้งหมด เป็นต้น ซึ่งเราควรคำนวณเผื่อไว้สักเล็กน้อยสำหรับอัตราค่ารักษาที่อาจเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อในอนาคตด้วย

ขั้นตอนที่ 4 พิจารณาค่าเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม

เมื่อเราทราบวงเงินและความคุ้มครองที่ต้องการแล้ว ก็ต้องนำมาพิจารณาร่วมกับค่าเบี้ยประกันภัย เพราะแต่ละคนก็มีรายได้ รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน โดยอาจกำหนดงบประมาณในการทำประกันสุขภาพเบื้องต้นไว้ที่ประมาณ 10% ของรายได้ต่อปี เพื่อให้สามารถจ่ายได้ไหวในระยะยาว และไม่เป็นภาระที่หนักจนเกินไป ทั้งนี้อาจปรับเพิ่มหรือลดลงได้ตามวัตถุประสงค์ในการทำประกันและความจำเป็นของแต่ละคนค่ะ

เลือกอะไรดีระหว่าง RMF กับ ประกันบำนาญ เพื่อเกษียณ

5 ข้อหลักในการเปรียบเทียบ

สิ่งที่เหมือนกันคือ ลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน
สิ่งไม่เหมือนกันคือ RMF มีนโยบายการลงทุนหลากหลาย ขึ้นกับนโยบายการลงทุน มีโอกาสเพิ่มความมั่งคั่ง แต่มีโอกาสเกิดความไม่แน่นอน ของผลตอบแทนหลังเกษียณได้
ประกันบำนาญ แหล่งรายได้มีความแน่นอน จะการันตีเงินได้ ในช่วงหลังเกษียณให้กับคุณค่ะ

ประกันบำนาญเหมาะกับใคร และควรทำตอนไหน?

ประกันบำนาญเหมาะกับคนที่อายุ 30-55 ปี หรือคนที่อยากเริ่มต้นวางแผนและสร้างความมั่นคงให้ชีวิต ต้องการผลตอบแทนที่มั่นคง ไม่ชอบใช้เงินไปกับการลงทุนที่มีความเสี่ยง รวมถึง คนที่วางแผนจะใช้ชีวิตโสดไปตลอดชีวิตและคนที่ไม่อยากเป็นภาระลูกหลานในอนาคต

ควรทำประกันบำนาญตอนไหน?

คำตอบก็คือ “ควรซื้อเมื่อพร้อม” โดยวิเคราะห์แล้วว่าเป็นช่วงเวลาที่คุณมีความพร้อมด้านการเงิน หรือมีการบริหารเงินที่ดีแล้วนั่นเอง เนื่องจากประกันบำนาญเป็นการทำสัญญาระยะยาว ที่ใช้เวลาจ่ายเบี้ยประกันอย่างน้อย 5 ปี จนกว่าจะอายุครบ 60 ปี หรือถ้าเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย ก็สามารถเลือกอายุเกษียณได้ที่อายุ 55 ปี(ประกันบำนาญของ AIA สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 20-55 ปี) แปลว่าคุณจะต้องมีรายได้ที่มั่นคง มีวินัยทางการเงินที่ดีมากพอ เพราะหากไม่สามารถชำระเบี้ยประกันได้อย่างต่อเนื่อง หรือมีการยกเลิกกรมธรรม์ก่อนหมดอายุสัญญา จะทำให้คุณไม่ได้รับผลประโยชน์จากประกันอย่างเต็มที่

อีกหนึ่งข้อพิจารณาคือ ยิ่งทำประกันตอนอายุยังน้อย เบี้ยประกันก็จะน้อยตามไปด้วย หากตัดสินใจทำประกันบำนาญตอนอายุเยอะแล้ว ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตามไปด้วย (หลักการนี้ก็ Apply กับประกันทุกรูปแบบนะคะ ยิ่งอายุเยอะ ความเสี่ยงยิ่งสูงค่ะ)